วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556



ดอกลิลลี่
                                   
                  

 ดอกลิลลี่สีขาว แทนความรักที่บริสุทธิ์ใจ ขาวสะอาด อ่อนหวาน จริงใจ และนับถือ?ดอกลิลลี่สีชมพูแสดงถึงการค้นหาเสาะหาหรือตามความรักเมื่อเจอความรักจะเป็นความรักที่ดีที่สุด และความรักที่จริงใจ?ดอกลิลลี่สีส้มเปรียบเสมือนความร่าเริง สดใส ความปิติสุขที่ได้อยู่ใกล้?ดอกลิลลี่สีเหลืองที่แสดงออกถึงความอบอุ่นห่วงใยของความรักที่มั่นคง หนักแน่นไปด้วยรักที่อบอุ่น ชอบเป็นห่วง และดอกลิลลี่ เป็นดอกที่เราสามารถมอบให้คนที่เรารักได้ไม่น่าแพ้ดอกกุหลาบเลยทีเดียวเพราะ สีของดอกลิลลี่เหล่านี้มันมีคำบรรยายที่ใช้บอกแทนความในใจได้ดอกลิลลี่มักนิยมใช้กันตามงานเลี้ยงหรืองานแต่งเพราะเป็นดอกลิลลี่ที่มีความสวยงาม
ดอกลินลี่สีชมพู(pink lilly) แสดงออกถึงการค้นหาความรักที่ดีที่สุดแล้วพบเจอมัน  เป็นดอกไม้ที่ผสมผสานอารมณ์ของความรักได้ อย่างลงตัว สื่อถึงความรักความจริงใจที่มี
ดอกลิลลี่สีส้ม (orange lilly) แสดงออกถึงความร่าเริง สดใส ความปิติสุขที่ได้อยู่ใกล้  เป็นดอกไม้ที่นำความน่ารักและความสดใสมารวมกันอย่างพอดี
ดอกลิลลี่สีเหลือง (yellow lilly) แสดงออกถึงความอบอุ่นที่ห่วงใย ของความรักที่มั่นคง  แสดงออกถึงความห่วงใย ห่วงหาอาทร  เป็นดอกไม้ทสื่อความหมายได้อย่างลึกซึ้ง
ดอกทิวลิป


ที่มาของชื่อ

                  แม้ว่าทิวลิปจะเป็นดอกไม้ที่ทำให้นึกถึงฮอลแลนด์ แต่ทั้งดอกไม้และชื่อมีที่มาจากจักรวรรดิเปอร์เชีย ทิวลิป เช่นเดียวกันที่เรียกกันในตุรกี เป็นดอกไม้ท้องถิ่นของตุรกี, อิหร่าน, อัฟกานิสถาน และบางส่วนของเอเชียกลาง แม้ว่าจะไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้นำทิวลิปเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปแต่ที่สำคัญคือตุรกีเป็นผู้ทำให้ทิวลิปมีชื่อเสียงที่นั่น เรื่องที่เป็นที่ยอมรับกันก็คือ Oghier Ghislain de Busbecqไปเป็นราชทูตของสมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในราชสำนักของสุลต่านสุลัยมานมหาราชแห่งจักรวรรดิออตโตมันในปี ค.ศ. 1554 Busbecq บรรยายในจดหมายถึงดอกไม้ต่างๆ ที่เห็นที่รวมทั้งนาร์ซิสซัส ดอกไฮยาซินธ์ และทิวลิปที่ดูเหมือนจะบานในฤดูหนาวที่ดูเหมือนผิดฤดู (ดู Busbecq, qtd. in Blunt, 7) ในวรรณคดีเปอร์เชียทั้งสมัยโบราณและสมัยใหม่ต่างก็ให้ความสนใจกับดอกไม้ชนิดนี้
คำว่า “tulip” ที่ในภาษาอังกฤษสมัยแรกเขียนเป็น “tulipa” หรือ “tulipant” เข้ามาในภาษาอังกฤษจากฝรั่งเศสที่แผลงมาจากคำว่า “tulipe” และจากคำโบราณว่า “tulipan” หรือจากภาษาลาตินสมัยใหม่ “tulīpa” ที่มาจากภาษาตุรกี “tülbend” หรือ ผ้ามัสลิน” (ภาษาอังกฤษว่า “turban” บันทึกเป็นครั้งแรกในภาษาอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และอาจจะมาจากภาษาตุรกีอีกคำหนึ่งว่า “tülbend” ก็เป็นได้)
ทิวลิปในประเทศไทย

     ในประเทศไทย สำนักงานเกษตรที่สูงดอยผาหม่น ได้ปลูกดอกทิวลิป ในพื้นที่เกษตรที่สูง  ต.ตับเต่า อ.เทิง จ.เชียงราย ตั้งปี พ.ศ. 2549 เพื่อการท่องเที่ยว
ความหมายของดอกทิวลิป
    ทิวลิปสีแดง - ความมั่นคงในความรัก ความจริงจังและจริงใจของผู้ให้ ความซื่อสัตย์และรักอย่างหมดหัวใจ
    ทิวลิปสีเหลือง - เป็นสัญลักษณ์แห่งความผิดหวัง

กุหลาบม่วง

 ประวัติดอกกุหลาบ
      กุหลาบ มาจากคำว่า " คุล " ในภาษาเปอร์เชีย แปลว่า " สีแดง ดอกไม้ หรือดอกกุหลาบ " เข้าใจว่าจากเปอร์เซียได้แพร่เข้าไปในอินเดีย เพราะในภาษาฮินเดียมีคำว่า " คุล " แปลว่า " ดอกไม้ " และคำว่า " คุลาพ " หมายถึงกุหลาบอย่างที่ไทยเราเรียกกัน แต่ออกเสียงเป็น " กุหลาบ " ส่วนคำว่า "Rose" มาจากคำว่า "Rhodon" ที่แปลว่ากุหลาบในภาษากรีก ดังนั้นกุหลาบพันปีหรือกุหลาบป่าไทยก็คือต้น Rhodo นั่นเอง
กุหลาบเป็นไม้ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก อาจเป็นเพราะเป็นดอกไม้ที่มีสีสวย ไม่ใช่แค่สีเดียวในหนึ่ง บางดอกให้เฉดสีสวยงามอย่างยากที่ศิลปินใดจะวาดเลียนแบบได้ ส่วนกลิ่นหอมที่แตกต่างแต่ละสายพันธุ์ก็มีเสน่ห์ดึงดูดใจและยังสามารถ

บังคับให้ออกดอกได้ตามจังหวะเวลาที่ต้องการตามเทศกาลที่สำคัญๆอย่างง่ายมาก
กุหลาบถูกนำไปเป็นสัญญลักษณ์ของสิ่งต่างๆมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของความรัก มีกุหลาบชื่อภาษฮังกฤษว่า My Valentine นำเข้ามาปลูกในบ้านเรานานแล้ว เป็นกุหลาบลูกผสมระหว่าง Little chief กับ Little Curt นำออกมาเผยแพร่ครั้งแรกตั้งแต่ปีพ . ศ .2518 กุหลาบพันธุ์นี้ออกเป็นช่อหลายดอกในกิ่งเดียว มีสีแดงอมส้มสดกลิ่นหอมอ่อนมากจนอาจไม่ได้กลิ่น ใบมีสีเขียวเข้มตัดกับสีดอก นิยม
ปลูกเป็นไม้กระถางไม่นิยมตัดดอกขาย
               นอกจากการให้กุหลาบในวันวาเลนไทน์แล้ว การให้กุหลาบสีอะไร เสมือนระบุความหมายเป็นนัยๆอีกด้วยเช่นถ้าสีแดงหมายถึงสีที่แสดงถึงความรัก ส่วนจำนวนดอกที่ให้ก็แสดงความรักเช่นกัน กฏเกณฑ์พวกนี้ไม่รู้ว่าใครเป็นคนตั้งคนเริ่ม แต่สรุปว่าให้หนึ่งดอกนั้นคือรักแรกพบ สามดอกแค่รักคุณ สำหรับ 999 ดอกรักคุณจนความตายมาพรากเราจากกัน
  


ดอกกล้วยไม้

                 ดอกกล้วยไม้เป็นดอกสมบูรณ์เพศ คือ เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอก เดียวกัน ดอกกล้วยไม้
ประกอบด้วยกลีบดอกวงนอก 3 กลีบ และกลีบดอกวงใน 3 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกกล้วยไม้จะแตกต่างกันไป
ตามชนิดของกล้วยไม้ กล้วยไม้บางชนิดอาจมีกลีบดอกขนาดใหญ่ สีสวย แต่บางชนิดมีกลีบแคบ สีไม่สวยส่วน
ของกลีบวงนอกหรือกลีบนอกนั้นจะเป็นส่วน ที่หุ้มดอกในระยะดอกตูม กลีบนอกมักจะมีลักษณะคล้ายกันทั้ง 3 กลีบ
ยกเว้นพวกรองเท้านารี ที่กลีบนอกกลีบล่างจะมีลักษณะต่างจากกลีบบน สำหรับกลีบในนั้นจะมีลักษณะต่างกัน

โดยกลีบ ในคู่หนึ่งจะมีลักษณะเหมือนกัน ส่วนกลีบในกลีบที่สามจะมีลักษณะแตกต่างไปเรียกว่าปาก หรือกระเป๋า
(Lip)ซึ่งมีประโยชน์สำหรับล่อแมลงเพื่อช่วยผสมพันธุ์ส่วนประกอบของดอกมีส่วนของก้านเกสรตัวผู้ ก้านเกสรตัว
เมียและยอดเกสรตัวเมียรวมกันเป็นอวัยวะเดียวกันยื่นออกมาตรงใจกลางของดอก มีอับเกสรตัวผู้อยู่ที่ส่วนปลาย
เรียกว่า เส้าเกสร (Staminal column) ยกเว้นพวกรองเท้านารี และกล้วยไม้บางสกุลที่อับเกสรตัวผู้ อยู่ ด้านข้าง
ของเส้าเกสร 2 ข้าง เกสรตัวผู้ไม่มีลักษณะ เป็นละอองเรณูแบบพืชอื่นๆ เกสรตัวผู้ประกอบด้วยอับเรณูและละออง
เกสรตัวผู้หรือเรณู เรณูของดอกกล้วยไม้มีลักษณะแตกต่างกันคือละอองเรณูอาจจะรวมกลุ่มติดกันคล้ายขี้ผึ้งอ่อน ๆ
หรือละอองเรณูเกาะตัวกันเป็นก้อนแข็งเป็นกลุ่มเรณูเรียกว่าพอลลิเนีย (pollinia) ในแต่ละอับ เรณูมีฝาปิดสนิท อาจ
มี 2,4 หรือ 8 อันแล้วแต่ชนิดของกล้วยไม้ยอดเกสรตัวเมียจะอยู่ใต้อับเรณู มีลักษณะเป็นแอ่งตื้น ๆภายในมีน้ำเมือก
เหนียว (ยกเว้นรองเท้านารีที่มีลักษณะต่างออกไป) น้ำเมือกนี้จะมีไว้เพื่อช่วยในการผสมพันธุ์ สำหรับยึดเกสรตัวผู้ที่
ตกลงไปในแอ่ง การผสมเกสรส่วนใหญ่ต้องอาศัยแมลงเข้าช่วสำหรับรังไข่อยู่ตรงส่วนของก้านดอก ภายในรังไข่จะ
ยังไม่มีการพัฒนาเป็นไข่อ่อนเมื่อมีการผสมเกสรเกิดขึ้นแล้วจึงจะเกิดไข่อ่อน ขึ้นมาภายในรังไข่รังไข่เพียงช่อเดียว
แต่มีเมล็ดเกาะที่ผนัง 3 แห่ง เมื่อไข่ได้รับการผสมจาก เกสรตัวผู้จะเจริญไปเป็นเมล็ด
ดอกหมอกพยับ

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Plumbago auriculata Lam.
ชื่อสามัญ :            Cape leadwort
อาณาจักร :           Plantea
ชั้น:                  Magnoliopsida
ตระกูล :             Plumbaginales
วงศ์ :                   Plumbaginaceae
สกุล :                   Plumbago
ชนิด :                  Plumbago auriculata
ลักษณะทั่วไป
           ต้นไม้รูปทรงกลมที่มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับบ้านได้อย่างน่าประทับใจอีกชนิดหนึ่ง คือ ต้นพยับหมอก ไม้ดอกไร้กลิ่นที่มีใบสีเขียวเข้ม ตัดกับดอกสีเทาฟ้าสว่างตา เป็นความโดดเด่นอันยากจะหาต้นไม้ใดเหมือน พยับหมอกมีขนาดทรงพุ่ม 0.5-0.8 ม. ลำต้นสีน้ำตาลเข้ม มีช่วงในการออกดอกตลอดทั้งปี และดอกจะบานสะพรั่งงดงามอย่างยิ่งในฤดูหนาว หลังจากที่หมดดอกควรมีการตัดแต่งเพราะดอกจะแห้งคาต้น พยับหมอกได้ความนิยมที่จะปลูกเป็นฉากหลังในสวนสน ตำแหน่งที่ปลูกไม่ควรจำกัดความสูง เพราะถ้าตัดแต่งบ่อยๆ จะไม่มีดอกที่สวยงามให้ชื่นชม
ขยายพันธุ์ :      โดยการปักชำกิ่ง หรือตอนกิ่ง
ประโยชน์ :         ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตกแต่ง เป็นไม้พุ่มต่ำได้ จะให้ดอกสวยงาม หรือใช้ปลูกริมรั้วจะมีความคงทนมาก ดอก ใช้ประดับแจกัน


ดอกดาวกระจาย
วิทยาศาสตร์ Cosmos spp.
ชื่อวงศ์ Asteraceae
ชื่อสามัญ Cosmos,Mexicen Aster
 ลักษณะทั่วไป
          เป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นฉุนไม่มากนักแต่เป็นดอกไม้ที่สามารถที่จะปลูกได้ง่าย ซึ่งคนส่วนใหญ่จะนิยมนำมาปลูกเป็น ไม้ประดับ  - ต้น ดอกดาวกระจายนั้นเป็นไม้พุ่ม เป็นพืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 1.5 เมตร มีลำต้นที่ไม่โตมากจะพลิ้วไหวไปตามลมเวลาที่มีลมพัดมา
           - ใบ ของดาวกระจายนั้นจะมีลักษณะใบรูปหอก เว้าลึก คล้ายใบประกอบแบบขนนก มีสีเขียวเข้ม
           - ดอกดาวกระจาย สำหรับดอกดาวกระจายนั้นจะออกเป็นดอกเดี่ยว ซึ่งมีทั้งแบบกลีบดอกซ้อน และกลีบดอกชั้นเดียว สำหรับกลับดอกนั้นจะมีขอบกลีบดอกหยักเว้า ดอกดาวกระจายนั้นจะมีหลายสีให้เราเห็นกันค่ะ เช่น สีส้ม ชมพู เป็นต้น สำหรับดอกดาวกระจายนั้นจะมีขนาดดอกประมาณ 4 – 7 เซนติเมตร การขยายพันธุ์ ดอกดาวกระจายนั้นจะมีการปลูกที่ง่ายมาก มีการขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ดโดยการนำเมล็ดแห้งมาทำการกล้าให้เกิดเป็นต้นอ่อนที่สูงประมาณเท่ากับฝ่ามือของเราแล้วนำไปปลูกได้ จะนิยมปลูกเอาไว้เป็นไม้ประดับตกแต่งเพื่อให้เกิดความสวยงาม และนี่ก็เป็นเรื่องราวของ ดอกดาวกระจายที่มีให้คุณเห็นกันค่ะ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่ให้ความสวยงาม เวลามองแล้วทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายกับคุณได้ด้วยสีสันของดอกไม้

ดอกคาร์เนชั่น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dianthus caryophyllus
 วงศ์ : Caryophyllaceae
 ชื่อสามัญ : Carnation
 ชื่ออื่น ๆ : คาร์เนชั่น
ดอกมีขนาดตั้งแต่
1.5 - 3 นิ้ว สีของดอกมีหลายสี คือ ขาว แดง แดงอมอม่วง และอาจจะมี 2 สีในดอกเดียวกัน
การปลูกและการดูแลรักษา
     คาร์เนชั่นชอบแสงแดดจัด และอากาศเย็น จากการทดลองพบว่า คาร์เนชั่นจะให้ผลดีที่สุดคือทั้งผลผลิตและคุณภาพของดอก ที่อุณหภูมิกลางคืน 50องศาฟาเรนไฮต์ และอุณหภูมิกลางวัน 55 องศาฟาเรนไฮต์ พื้นที่ที่เหมาะสมน่าจะเป็นบริเวณภาคเหนือ หรือ จังหวัดนครราชสีมา
    ดินที่ใช้ปลูกควรเป็นดินร่วนซุย มีอินทรีย์วัตถุสูง มีการระบายน้ำดี มีอากาศถ่ายเทดี เนื่องจากคาร์เนชั่นเป็นโรคได้ง่ายมาก ดังนั้นเรื่องความสะอาดของดินจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าเป็นไปได้ควรอบฆ่าเชี้อในดินด้วยไอน้ำ หรือ สารเคมีเช่น methyl bromide ดินควรเป็นกรดเล็กน้อย pH 6.0-7.0
การขยายพันธุ์
การใช้เมล็ด ,การใช้กิ่งปักชำ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ตัดเมื่อกลีบดอกชั้นนอกเริ่มตั้งฉากกับกลีบเลี้ยง เป็นระยะที่กลีบดอกชั้นนอกเริ่มบานแต่กลีบชั้นในเริ่มคลี่ ถ้ามีการใช้สารเคมี Bud opening อาจจะตัดในระยะ "Paint brush" ซึ่งเป็นระยะที่กลีบดอกชั้นนอกเริ่มคลี่ ในกรณีของคาร์เนชั่นชนิดดอกช่อ (spray cultivars) ให้ตัดเมื่อดอก
การเก็บรักษา
อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเก็บรักษาดอกคาร์เนชั่น ที่ยังไม่บานเต็มที่ คือ -0.5 - 0 องศาเซลเซียส โดยเก็บรักษาในสภาพแห้ง (Dry storage) ได้นาน 3-4 สัปดาห์ดอกที่บานเต็มที่อาจจะเก็บ
รักษาที่อุณหภูมิ 3-4 องศาเซลเซียส ในสภาพที่แช่ในสารเคมี ซึ่งจะเก็บรักษาได้นาน 2 สัปดาห์

ดอกแวววิเชียร



ชื่อวิทยาศาสตร์  :     Angelonia goyazensis Benenth. 
วงศ์                :     SCROPHULARIACEAE
ชื่ออื่น             :     เทียนญี่ปุ่น

     forget me not ไทย หรือที่รู้จักกันในชื่อ แวววิเชียร ขอบอกไว้ก่อนว่าถ้าใครไปถามหา ดอก forget me not แบบสุ่มสี่สุ่มห้าแล้ว อาจจะต้องตกลงกันให้ดีกับคนขายก่อนว่า เป็นดอก forget me not ในความหมายเดียวกันหรือเปล่า สำหรับดอก forget me not ไทยนั้นคนไทยรู้จักกันในชื่อแวววิเชียรนั้นเป็นพืชเมืองร้อน เราว่ามีลักษณะ คล้ายหรือใกล้เคียงกับพวก ลาเวนเดอร์ มากกว่า แล้วสีก็จะมีหลายสีไม่ใช่สีฟ้าครามเหมือนดอก forget me not ของฝรั่ง
            ใบและดอกของแวววิเชียรมีกลิ่นเฉพาะตัวที่จะติดมือเมื่อสัมผัส แวววิเชียรเป็นพืชที่ปลูกง่ายขึ้นได้ดีในดินทั่วไปแทบ ทุกชนิด ชอบความชุ่มชื้นและทนร่มเงาได้ ทนทานโรคแมลง โตเร็ว ขยายพันธุ์ง่ายโดยการแยกกอหรือปักชำกิ่ง แหล่งกำเนิดดั้งเดิมของแวววิเชียรยังค้นไม่พบ แต่มีหลักฐานว่า นำเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ โดยแหม่มคอลลินส์ นับถึงตอนนี้ก็มีอายุ ๙๖  ปีแล้ว ครั้งนั้นแวววิเชียรถูกนำเข้ามาจาก เมืองมัณฑะเลย์ สหภาพพม่า เดิมแวววิเชียรมีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า ต้นฟอร์เก็ตมีน็อต (Forget – me – not ) เข้าใจว่าเรียกตามแหม่มคอลลินส์  ผู้นำเข้ามาคนแรก
          ความจริงต้น Forget – me – not ที่รู้จักกันทั่วโลก เป็นพืชในสกุล Myosotis อยู่ในวงศ์ Boraginaceae เป็นพืชเขตอบอุ่น ไม่เกี่ยวข้องกับต้นฟอร์เก็ตมีน็อตของไทยเราเลย จะมีคล้ายกันบ้างก็ตรงที่สีกลีบดอกเป็นสีม่วงเท่านั้นเอง
          เนื่องจากต้นฟอร์เก็ตมีน็อตของไทยไม่ใช่ Forget – me-not ของแท้ และยังไม่มีชื่อในภาษาไทย หลวงบุเรศบำรุงการ จึงตั้งชื่อให้ว่าต้นแวววิเชียร ซึ่งเป็นชื่อที่ไพเราะ และมีความหมายดีมาก ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่รู้จักและเรียกชื่อไม้ดอกชนิดนี้ว่าแวววิเชียร แต่ยังมีคนไทยบางกลุ่ม (ที่อายุมากและรู้จักไม้ดอกชนิดนี้มาในชื่อเดิม) ยังนิยมเรียกว่าฟอร์เก็ตมีน็อตอยู่ หากผู้อ่านได้ยินใครเรียกชื่อทั้ง ๒ นี้ก็ขอให้เข้าใจว่าเป็นพืชชนิดเดียวกันนั่นเอง     

ดอกแวววิเชียร นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกได้ทุกสภาพดิน ชอบแสงแดดจัด    และแสงแดดรำไร  ปลูกง่าย โตเร็ว  
ขยายพันธุ์  โดยการเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง




ดอกลิปสติก

ชื่อวิทยาศาสตร์    Aeschynanthus radicans jack.
ตระกูล
              Gesneriaceae
ชื่อสามัญ 
           Lipstick Vine
ถิ่นกำเนิด            ประเทศมาเลเซีย

ลักษณะทั่วไป
ลิปสติก เป็นไม้ดอกอายุหลายปี ลำต้นสีแดงเลือดหมู ทอดเลื้อยได้ 1.50 -2.0 เมตร ใบรูปหอก แผ่นใบหนาอวบ สีเขียวเข้มรูปรีหรือรูปไข่ดอกออกเป็นช่อ
กลีบเลี้ยงรูปหลอด สีแดงเลือด ดอกสีแดงอมส้มสีเหลือง และสีชมพู รูปหลอดยาวปลายแยกเป้น 5 กลีบ ผลเป็นฝักยาว 30 - 60 เซ็นติเมตร เมล็ดมีพู่ขน
ติดที่ปลาย

สภาพการปลูก
ลิปสติกเป็นไม้ แสงแดดรำไร ดินปลูกระบายน้ำได้ดีและเป็นไม้ที่ชอบความชุ่มชื้น
การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยเพาะมล็ด และการปักชำกิ่ง
การปลูกและดูแลรักษา
ส่วน ประกอบในการปลูกในกระถางแขวน มีพวกกาบมะพร้าว ชึ่งแช่น้ำสะอาด 1 คืน และใบไม้ผุ จากนั้นใสปุ๋ยออสโมโค้สโรย สูตรเสมอ 54-14 เป็นปุ๋ยเม็ดชนิดละลายช้า เพื่อเพิ่มดอก รดน้ำวัน ละครั้งในช่วงเช้า โดยแขวนไว้ในที่รำไร จนกระทั้งลิปสติกออกดอก ส่วนโรคที่พบจะมีพวกเชื้อแป้ง
ให้ฉีดด้วยสารเคมีพอตท์หรือว่าจะใช้สารสะเดาก็ได้
ฤดูกาลออกดอก 
ออกดอกเกือบทั้งปีแต่ช่วงที่ให้ดอกดกเป็นพิเศษ จะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์

ดอกกล็อกซิเนีย


ชื่อสามัญ                                Gloxinia
ชื่อวิทยาศาสตร์                        Sinningia speciosa
ตระกูล                                    Gesneriaceae
ถิ่นกำเนิด                                บราซิล
  
      กล็อก ซิเนียเป็นไม้ดอกที่มีความงามเฉพาะตัว ไม่ซ้ำแบบไม้ดอกชนิดใดเลย เหมาะอย่างยิ่งที่จะปลูกเป็นไม้กระถางและเนื่องจากกล็อกซิเนียมีพุ่มต้น เตี้ย ถ้าปลูกในกระถางขนาดลึก 5 นิ้ว ซึ่งต่างประเทศเรียกว่า "azalea pot" คือมีความสูงกระถางเป็น ? ของเส้นผ่านศูนย์กลางของปากกระถาง จะดูสวยงามและได้สัดส่วนมาก เหมาะที่จะใช้เป็นของขวัญในโอกาสและเทศกาลต่าง ๆ เป็นอย่างยิ่ง กล็อกซิเนียมีถิ่นกำเนิดในประเทศบราซิล ได้มีผู้นำเข้าไปในยุโรป ประมาณ 170 ปีก่อน และเข้ามาในประเทศไทยได้ประมาณ40 ปีมานี้เอง
ลักษณะทั่วไป
กล็อก ซิเนียเป็นไม้เนื้ออ่อนล้มลุก พุ่มต้นสูงประมาณ 15-30 ซม. มีหัวใต้ดิน ใบสีเขียวสด รูปไข่ อวบน้ำ ขอบหยักมน มีขนทั่วใบ ใบผึ่งกางปรกกระถาง ดอกออกเป็นกลุ่มชูตั้งขึ้นเหนือกลุ่มใบ ดอกมีสีสด กลีบดอกเหมือนกำมะหยี่มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกช้อน ขนาด 5 - 7 ซม. ดอกรูประฆัง ปลายแยก 5 - 12 กลีบ มีขนปกคลุม ดอกมีสีขาว ชมพูอ่อน-เข้ม แดง ม่วง และสองสีในดอกเดียวกัน ทำให้ดอกสวยเด่น จำนวนดอกที่บานคราวหนึ่ง ๆ อาจมีตั้งแต่
การขยายพันธ์
กล็อก ซีเนียขยายพันธุ์ได้ง่ายมาก และทำได้หลายวิธี แทบทุกส่วนของต้นนำไปขยายพันธุ์ได้หมด ด้วยกิ่งใบปักชำเมล็ดหัวฝอยจากดอก แต่นิยมกันมากที่สุด คือขยายพันธุ์ด้วยหัว
การปลูก
เติบโตได้ดีในดินร่วนอมความชื้นแสงรำไรต้องการแสงสว่างไม่มากนักสามารถปลูกกล็อกซิเนียภายในบ้าน
เรือนโดยใช้แสงจากหลอดไฟก็เพียงพอแล้วเนื่องจากกล็อกซิเนียไม่ต้องการแสงแดดโดยตรงดินที่ใช้ควร
มีอินทรีย์วัตถุ สูง ๆ อาจใช้ทราย 1 ส่วน ใบไม้ผุ 1 ส่วน ปุ๋ยคอกหรือขุยมะพร้าว 1 ส่วนก็ได้
การดูแล
กล็อกซีเนียเป็นไม้ต้องการแสงแดดรำไรกินน้ำมากภายในกระถางควรชื้นตลอดเวลาการให้น้ำควรให้น้ำทางก้น
กระถางโดยให้น้ำจากจานรองกระถางซึมขึ้นไปหรือรดน้ำที่โคนต้นไม่ควรให้โดนดอกและใบเพราะทำให้น้ำขัง
ตามใบ ก็จะทำให้เน่าเป็นวงได้ เมื่อเริ่มเน่าเป็นวงที่ใบก็จะรามไปทั้งต้น ควรปลูกในกระถางลึก ประมาณ 4-5 นิ้ว